กำเนิดพระอรหันต์สาวก






ตำนานอนันตลักขณสูตร

เมื่อพระพุทธองค์แสดงธรรมจักกัปปัตตสูตรโปรดเบญจวัคคีย์จบ และพระโณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วและได้รับการอุปสมบถในสำนักของพระศาสดาในวันเพ็ญเดือน ๘ แล้ว ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ก็ได้ทรงอธิบายขยายเนื้อความ พระธรรมจักรนั้นให้กับฤาษีเบญจวัคคีย์ที่เหลือฟังต่อไปอีกในวันต่อมา ท่านวัปปะก็ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วก็ทูลขออุปสมบถ พระองค์ก็ประทานการอุปสมบถให้เหมือนกับท่านโกณฑัญญะ วันต่อมา ท่านภัททิยะ ท่านมหานามะ และวันต่อมา ท่านอีสสชิได้ดวงตาเห็นธรรม และทูลขออุปสมบถตามลำดับ เมื่อทรงเห็นว่าเบญจวัคคีย์ทั้งห้านั้นมีอินทรีย์ แก่กล้าควรที่จะเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไปได้ จึงได้ทรงแสดงอนันตลักขณสูตร ซึ่งมีใจความย่อดังนี้



ขันธ์ห้า คือรูปได้แก่ร่างกาย, เวทนา การเสสวยอารมณ์ที่เป็นสุขเป็นทุกข์หรือเฉยๆ, สัญญา ความจำหมายได้รู้ สังขาร สภาวธรรมที่เกิดกับจิต มีหน้าที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว และวิญญาณ ได้แก่จิต ขันธ์ทั้งหมดนี้เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่ตน ถ้าขันธ์ห้านี้เป็นตัวเป็นตนแล้วไซร้ นธ์ห้าไม่พึงเป็นไปเพื่อความอาพาธ และพึงหวังได้ว่าขันธ์ห้าของเราจงเป็นอย่างนี้ หรือว่าจงอย่าเป็นอย่างนี้เลย เพราะขันธ์ห้าไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ย่อมมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่ควรเห็นว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา


พระพุทธองค์ตรัสสอนเบญจวัคคีย์ให้ละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้าเสีย โดยตรัสว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดเป็นแต่สักว่ารูป เป็นสักว่าเวทนา เป็นสักว่าสัญญา เป็นสักว่าสังขาร เป็นสักว่าวิญญาณเท่านั้น ควรพิจารณาเห็นตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา พระอริยสาวกทั้งหลาย เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายแล้วย่อมคลายความกำหนัดรักใคร่ เมื่อปราศจากความกำหนัดรักใคร่แล้ว จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วย่อมเกิดญานว่า จิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ควรทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว


เมื่อพระศาสดาทรงแสดงอนันตลักขณสูตรจบลง ปัญจัคคีย์ท้งห้าได้บรรลุพระอรหันตผลเป็นอริยบุคคลชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา


หมายเหตุ อนัตตลักขณสูตรนิยมสวดในพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยนิยมสวดกันในงานทำบุญ ๗ วัน เพื่อให้ผู้ฟังพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความโศกย่อมเกิดจากความรัก

ภาพุทธประวัติและบรรยาย

ประวัติวัดบ้านพราน ต. ศรีพราน อ. แสวงหา จ. อ่างทอง