บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2012
รูปภาพ
. อะวิชชาปัจจะยา สังขารา สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง นามะรูปังปัจจะยา สะฬายะตะนัง สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส ผัสสะปัจจะยา เวทะนา เวทะนาปัจจะยา ตัณหา ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง อุปาทานะปัจจะยา ภะโว ภะวะ ปัจจะยา ชาติ ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ ฯ เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโย โหติ ฯ เพราะอวิชาเป็นปัจจัย   สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย    วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย   สฬายะตะนะ จึงมี เพราะสฬายะตะนะเป็นปัจจัย   ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย  เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย  ตัญหาจึงมี เพราะตัญหาเป็นปัจจัย  อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย   ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย  ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย  ชรามรนัง  โสกะปะริเทวะทุกขะโทมนัสสะ และ อุปายาสา  จึงมี กองทุกข์ทั้งหมดนี้จึงมีอาการดังนี้ อะวิชชายะเต์ววะ อะเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ สังขา- ระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ นามะรู-
รูปภาพ
เหตุแห่งทุกข์ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ใน อริยสัจ ๔  ว่าเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) คือ ตัณหา ได้แก่ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น หรือความไม่พอใจในสิ่งที่มีที่เป็น ทำให้เกิดความดิ้นรน ตัวอย่าง เช่น คนมีเงินหนึ่งร้อยล้านบาท แต่ถ้าเขาไม่พอ อยากมีเงินหนึ่งร้อยล้านกับอีกหนึ่งบาท แค่นี้เขาก็ทุกข์แล้ว หรือคนมีแฟนสวยเป็นนางสาวไทย แต่อยากได้คนสวยระดับนางงามจักรวาลก็คงทุกข์ ในทางกลับกัน คนจนที่พอใจในบ้านที่เขาอยู่ มีข้าวกินครบ ๓ มื้อ เขาก็ไม่ทุกข์ และคนพิการไม่ครบ ๓๒ ถ้าเขายอมรับสิ่งที่เป็นอยู่ได้ ก็ไม่ต้องทุกข์ สำหรับจิตก็เช่นกัน ย่อมมีสงบบ้างมีไม่สงบบ้าง มีสุขมีทุกข์บ้าง ถ้าแจ้งถึงความเป็นจริงอย่างนี้ ไม่มีตัณหาอยากให้จิตเป็นอย่างไร แค่นี้ก็ไม่ทุกข์แล้ว ความจริงแล้วเพียงเข้าใจในสัจธรรมว่าทุกสรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง (อนิจจัง) ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นอัตตาตัวตนของเรา ซึ่งสิ่งที่ไม่ใช่ของเรา เราก็ไม่ควรอยากให้มันดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร ไม่ต้องไปคอยประคอง คอยควบคุมจิต เป็นเจ้าของมัน สิ่งที่ควรทำ คือ เมื่อว่างจากการงานก็ควรพักจิตเสียบ้าง ด้วยการไม่ต้องไปคอยใช้มัน ไม่ต้องไปหลับ
รูปภาพ
สิ่งที่เห็นอาจ...มิใช่สิ่งที่เป็น สิ่งที่เป็นบางครั้ง...ก็ลวงตา จงพิจารณา....แทนที่จะละเมอเผลอ...คิด ใครว่าเขาหลงผิด ผู้นั้นหลงถูก ความสวยงามอยู่ที่ใจ มิใช่การกระทำ
รูปภาพ
กรรมคือเจตนา กรรมเป็นคำกลางๆแปลว่าการกระทำ  เป็นกรรมดีก็ได้ เป็นกรรมชั่วก็ได้ การกระทำกรรมเกิดขึ้นได้ทางกาย วาจา และแม้กระทั่งเกิดทางใจ คือ มีความคิดดี หรือไม่ดีก็เป็นกรรมแล้ว แต่แน่นอนว่าการกระทำกรรมที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งกาย วาจาและใจ ย่อมมีผลรุนแรงกว่าการคิดเพียงอย่างเดียว กรรมต้องมีเจตนา ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาคือกรรม"  ทุกครั้งที่กรรมเกิดขึ้นย่อมเก็บสะสมไว้ในจิต พร้อมมีการปรุงแต่งให้เมื่อมีโอกาส ถ้าเป็นกรรมชั่ว ความฟุ้งซ่านของจิตอาจนำมาซึ่งวิบากกรรมที่เร็วกว่าเวลาอันควร จึงเป็นเรื่องน่ากลัวมาก  กรรมทำแล้วต้องมีผลแก่ผู้กระทำเสมอ เหมือนเราตบมือเป็นกรรม เสียงที่มาจากการตบมือคือวิบากกรรมนั่นเอง จะทำกรรมโดยไม่ให้มีวิบากกรรมไม่ได้เด็ดขาด  เพราะเป็นสภาวธรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ผู้ฆ่าสัตว์ย่อมต้องการให้สัตว์นั้นมีอายุสั้น มีความเจ็บปวด ผลจากเจตนานั้นย่อมเข้าหาตัวผู้กระทำโดยอัตโนมัติ คือมีอายุสั้น ตายไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรตหรืออสุรกายแล้วแต่กรณี พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า "เรามีกรรมเป็นของเรา เราเป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
รูปภาพ
อริยสัจ ๔   ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์ ทุกข์   :   ธรรมที่ควรรู้   มีดังนี้ โลกธรรม 8             ความหมาย   โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องธรรมดาของโลกที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ หรือสิ่งที่ครอบงำมนุษย์ 8 ประการ สาระสำคัญของโลกธรรม 8   สรุปดังนี้             โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ (มนุษย์พอใจ)                            1. ได้ลาภ                              2. ได้ยศ             3. มีสรรเสริญ                         4. มีสุข               โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ (มนุษย์พอใจ)             1. เสื่อมลาภ                           2. เสื่อมยศ           3.   มีนินทา                              4. มีทุกข์ 2.  สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาต
รูปภาพ
เนื่องจากหนังสือสวดมนต์แปล ( ตามภาพ ) ที่ใช้สำหรับการบวชเนกขัมมะ ( ชีพราหมณ์ )  ของวัดบ้านพราน ต. ศรีพราน อ. แสวงหา จ. อ่างทอง นั้น  ไม่เพียงพอต่อผู้ที่เข้ามาบวช และที่ผ่านมาทางวัดเอง ก็ได้มีการบริจาคให้กับวัดต่างๆ และบุคคลที่ต้องการหนังสือสวดมนต์แปลของทางวัด เป็นประจำ  ขณะนี้ทางวัดขาดแคลนหนังสือสวดมนต์เป็นอย่างมาก  ทางวัดจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิมพิ์หนังสือสวดมนต์ขึ้นมาใหม่  โดยราคาเล่มละ  150 บาท และจำนวนที่พิมพิ์ก็ต้อง 1 พันเล่มขึ้นไป  หากจำนวนไม่ถึง ราคาก็ต้องแพงกว่านี้อีก  จึงขอเชิญชวนผู้ที่มีจิตศรัทธาเข้าร่วมโครงการนี้ตามจิตศรัทธา สำหรับผู้ที่ต้องการจะมีส่วนร่วมสามารถโอนเงิน เข้าบัญชีของวัดบ้านพราน ธนาคารกรุงไทย สาขาโพธิ์ทอง บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 122-1-20884-5  หรือติดต่อโดยตรงที่ โทรฯ 035-870-273 / 083-552-6502 email: watbanphran@gmail.com piyajaro@gmail.com ขอให้ท่าน ครอบครัว ญาติมิตร จงอุดมด้วยพรสี่ประการ ทั้งอายุ วรรณะ สุขะ พละ ธนสารสมบัติ ตลอดกาลนานเทอญ อนุโมทนาสาธุ " การให้ใดๆก็ไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับการให้แสงแห่งปัญ