เหตุแห่งทุกข์

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในอริยสัจ ๔ ว่าเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) คือ ตัณหา ได้แก่ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น หรือความไม่พอใจในสิ่งที่มีที่เป็น ทำให้เกิดความดิ้นรน

ตัวอย่าง เช่น คนมีเงินหนึ่งร้อยล้านบาท แต่ถ้าเขาไม่พอ อยากมีเงินหนึ่งร้อยล้านกับอีกหนึ่งบาท แค่นี้เขาก็ทุกข์แล้ว หรือคนมีแฟนสวยเป็นนางสาวไทย แต่อยากได้คนสวยระดับนางงามจักรวาลก็คงทุกข์

ในทางกลับกัน คนจนที่พอใจในบ้านที่เขาอยู่ มีข้าวกินครบ ๓ มื้อ เขาก็ไม่ทุกข์ และคนพิการไม่ครบ ๓๒ ถ้าเขายอมรับสิ่งที่เป็นอยู่ได้ ก็ไม่ต้องทุกข์ สำหรับจิตก็เช่นกัน ย่อมมีสงบบ้างมีไม่สงบบ้าง มีสุขมีทุกข์บ้าง ถ้าแจ้งถึงความเป็นจริงอย่างนี้ ไม่มีตัณหาอยากให้จิตเป็นอย่างไร แค่นี้ก็ไม่ทุกข์แล้ว

ความจริงแล้วเพียงเข้าใจในสัจธรรมว่าทุกสรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง (อนิจจัง) ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นอัตตาตัวตนของเรา ซึ่งสิ่งที่ไม่ใช่ของเรา เราก็ไม่ควรอยากให้มันดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร ไม่ต้องไปคอยประคอง คอยควบคุมจิต เป็นเจ้าของมัน สิ่งที่ควรทำ คือ เมื่อว่างจากการงานก็ควรพักจิตเสียบ้าง ด้วยการไม่ต้องไปคอยใช้มัน ไม่ต้องไปหลับตาเข้าฌาณ แค่ปล่อยสบายๆ ผ่อนคลาย ไม่ต้องไปคอยรู้อะไร ระหว่างนั้นจะมีอารมณ์ความคิดผ่านเข้ามาบ้างก็ช่างมัน จะเป็นจิตดีหรือไม่ดีก็ไม่ต้องไปสนใจ ปล่อยให้มันเกิดเองเป็นเอง ไม่มีหน้าที่ไปวิพากษ์วจารณ์ ไม่ต้องมีเราไปพอใจหรือไม่พอใจ ไม่ต้องคอยผูกคอยแก้ ไม่ต้องมีส่วนได้ส่วนเสียกับจิต แค่นี้ก็ปล่อยวางแล้ว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความโศกย่อมเกิดจากความรัก

ภาพุทธประวัติและบรรยาย

มหาสังฆทาน