อาทิตตปริยายสูตร






 อาทิตตปริยายสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๔


        [๕๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ตำบลคยาสีสะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑๐๐๐ รูปล้วนเป็นปุราณชฎิล. ได้ยินว่าพระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ  ใกล้แม่น้ำคยานั้น พร้อมด้วยภิกษุ  ๑๐๐๐ รูป.  
         ณ ที่นั้น  พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน,   ก็อะไรเล่าชื่อว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน?
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย  จักษุเป็นของร้อน  รูปทั้งหลายเป็นของร้อน  วิญญาณอาศัยจักษุเป็นของร้อน  สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน  ความเสวยอารมณ์(เวทนา)เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้นั้นก็เป็นของร้อน
[กล่าวคือเป็นไปดังกระบวนธรรมนี้   ตา(จักษุ)    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป รูป    การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด    จักษุวิญญาณ   การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้น เรียกว่า ผัสสะ  ผัสสะ   เป็นปัจจัย จึงมี    เวทนา เป็นสุขเป็นทุกข์ หรืออทุกขมสุขเวทนา]
    ร้อนเพราะอะไร?  เรากล่าวว่า  
    ร้อนเพราะไฟคือราคะ  เพราะไฟคือโทสะ  เพราะไฟคือโมหะ
    ร้อนเพราะความเกิด(ชาติ)  เพราะความแก่(ชรา)  และความตาย(มรณะ)
    ร้อนเพราะความโศก(โสกะ)  เพราะความรำพัน(ปริเทวะ)  เพราะทุกข์กาย(ทุกข์)  เพราะทุกข์ใจ(โทมนัส)  เพราะความคับแค้น(อุปายาส).
    (กล่าวคือ เป็นไปตาม ปฏิจจสมุปบาทธรรม จึงมี ชาติ, ชรา-มรณะ ทั้งโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส  อันเป็นทุกข์อุปาทานที่เร่าร้อนเผาลน)
         โสตเป็นของร้อน  เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ..... (ข้อความเดียวกับข้างต้น เปลี่ยนจากจักษุเป็นโสต, และรูปเป็นเสียง เท่านั้น)
         ฆานะเป็นของร้อน  กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน .....
         ชิวหาเป็นของร้อน  รสทั้งหลายเป็นของร้อน .....
         กายเป็นของร้อน  โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน .....
         มนะ(ใจ)เป็นของร้อน  ธรรม(ธรรมารมณ์-คิด)ทั้งหลายเป็นของร้อน  วิญญาณอาศัยมนะเป็นของร้อน  สัมผัสอาศัยมนะเป็นของร้อน
         ความเสวยอารมณ์เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข  ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยแม้นั้นก็เป็นของร้อน  ร้อนเพราะอะไร?
         เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือราคะ  เพราะไฟคือโทสะ  เพราะไฟคือโมหะ  
         ร้อนเพราะความเกิด(ชาติ)  เพราะความแก(ชรา)่  และความตาย(มรณะ)  
         ร้อนเพราะความโศก(โสกะ)  เพราะความรำพัน(ปริเทวะ)  เพราะทุกข์กาย(ทุกข์)  เพราะทุกข์ใจ(โทมนัส)  เพราะความคับแค้น(อุปายาส).  
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยจักษุ  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยจักษุ  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข  เป็นทุกข์  หรือมิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
         ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย .....
         ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย .....  
         ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย .....
         ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย .....
         ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย   ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยมนะ  
         ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยมนะ   ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข  เป็นทุกข์  หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย.
         เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด  เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น  เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว  
         อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี(ไปกว่านี้อีกแล้ว).  
         ก็แล  เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่  จิตของภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปนั้น  พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย  เพราะไม่ถือมั่น(สิ้นอุปาทาน).



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความโศกย่อมเกิดจากความรัก

ภาพุทธประวัติและบรรยาย

ประวัติวัดบ้านพราน ต. ศรีพราน อ. แสวงหา จ. อ่างทอง