ผู้มีขันติคือผู้ที่ แม้มี ความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่ในใจมากมายเพียงใดก็ตาม เมื่อมีขันติ ไม่แสดง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ออกมาอย่างรุนแรง โดยไม่คำนึงถึงความถูกความผิด ความหนักความเบา
ขันติเป็นความมีใจอดทน อดกลั้น หรือจะกล่าวว่า ทนเก็บความรู้สึกไม่ ว่าโลภ ไม่ว่าโกรธ ไม่ว่าหลง ที่เกิดขึ้นรุนแรงเพียงใดก็ตาม ให้อยู่แต่ภายในใจตน ไม่ให้พ้นใจออกปรากฏเป็นการ ติเตียน ทะเลาะวิวาท ฆ่าฟันกันถึงเป็นถึงตายอันเป็นบาปกรรมทั้งหลาย เป็นไปตามพระศาสนสุภาษิตในพระพุทธศาสนาจริงที่ว่า “ขันติตัดรากแห่งมารได้”
ผู้ที่ไม่ได้แสดงความมีขันติให้กลายเป็นความไม่มีขันติ หรือ ขันติแตก อาจไม่ใช่ผู้มีขันติจริง เมื่อเกิดอะไรขึ้นที่น่าจะก่อให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง ผู้มีขันติอดทนอดกลั้นจริงไม่ต้องใช้กำลังใจมากมาย เป็นไปง่ายๆ สบายๆ แต่ก็เป็นขันติ
จึงน่าจะแบ่งขั้นได้ว่าเป็นชั้นสูงเหนือขันติธรรมดาทั่วไป ผู้มุ่งมีขันติทั้งหลายอาจต้องข่มใจมาก ถ้าข่มได้สำเร็จ ขันติก็จะเป็นขันติ ไม่เป็นขันแตกให้น่ากลัว
ขันติจะเข้าสู่ระดับไม่ต้องข่มใจหนักหนาได้ ต้องอยู่ที่การพยายามฝึกเสมอ เมื่อ กระทบอารมณ์ใดก็ให้ระวังใจให้ดีที่สุด คือนึกให้เกิดมงคลสูงสุดแก่ชีวิต ว่าเราจะบูชาสมเด็จพระบรมศาสดาด้วยบูชาอันยิ่ง คือด้วยการมีขันติ
ดังในพระศาสนสุภาษิตในพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่า “ผู้มีขันติชื่อว่าทำตามคำทรงสอนของสมเด็จพระบรมศาสดา” นี้เป็นคำทรงสอนท่ให้คุณแก่ชีวิตสัตว์โลกเป็นอย่างยิ่ง
: แสงส่องใจ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ขันติเป็นความมีใจอดทน อดกลั้น หรือจะกล่าวว่า ทนเก็บความรู้สึกไม่ ว่าโลภ ไม่ว่าโกรธ ไม่ว่าหลง ที่เกิดขึ้นรุนแรงเพียงใดก็ตาม ให้อยู่แต่ภายในใจตน ไม่ให้พ้นใจออกปรากฏเป็นการ ติเตียน ทะเลาะวิวาท ฆ่าฟันกันถึงเป็นถึงตายอันเป็นบาปกรรมทั้งหลาย เป็นไปตามพระศาสนสุภาษิตในพระพุทธศาสนาจริงที่ว่า “ขันติตัดรากแห่งมารได้”
ผู้ที่ไม่ได้แสดงความมีขันติให้กลายเป็นความไม่มีขันติ หรือ ขันติแตก อาจไม่ใช่ผู้มีขันติจริง เมื่อเกิดอะไรขึ้นที่น่าจะก่อให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง ผู้มีขันติอดทนอดกลั้นจริงไม่ต้องใช้กำลังใจมากมาย เป็นไปง่ายๆ สบายๆ แต่ก็เป็นขันติ
จึงน่าจะแบ่งขั้นได้ว่าเป็นชั้นสูงเหนือขันติธรรมดาทั่วไป ผู้มุ่งมีขันติทั้งหลายอาจต้องข่มใจมาก ถ้าข่มได้สำเร็จ ขันติก็จะเป็นขันติ ไม่เป็นขันแตกให้น่ากลัว
ขันติจะเข้าสู่ระดับไม่ต้องข่มใจหนักหนาได้ ต้องอยู่ที่การพยายามฝึกเสมอ เมื่อ กระทบอารมณ์ใดก็ให้ระวังใจให้ดีที่สุด คือนึกให้เกิดมงคลสูงสุดแก่ชีวิต ว่าเราจะบูชาสมเด็จพระบรมศาสดาด้วยบูชาอันยิ่ง คือด้วยการมีขันติ
ดังในพระศาสนสุภาษิตในพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่า “ผู้มีขันติชื่อว่าทำตามคำทรงสอนของสมเด็จพระบรมศาสดา” นี้เป็นคำทรงสอนท่ให้คุณแก่ชีวิตสัตว์โลกเป็นอย่างยิ่ง
: แสงส่องใจ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น