ตำนานพระปริตร 3
บท นโมการอัฏฐกคาถา
นโม อรหโต สัมมา สัมมา สัมพุทธัสสะ มเหสิโน
ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาซึ่งประโยชน์ใหญ่
นโม อุตตม ธัมมัสสะ สวากขา ตัสเส ว เตนิธะ
ขอนอบน้อมแด่พระธรรมอันอุดมในพระศาสนานี้ ที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
นโม มหาสังฆัสสาปิ วิสุท ธสี ละทิฏฐิโน
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ผู้มีศีลและความเห็นอันหมดจด
นโม โอมาตยา รัทธัสส รตนัต ตยัสส สาธุกัง
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า อ.อู.ม. ดังนี้ เป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จ
นโม โอมกาตี ตัสสะ ตัสสะ วัตถุต ตยัส สปิ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยทั้ง ๓ นั้น อันล่วงพ้นโทษต่ำช้า
นโม การัป ปภาเวน วิคัจฉันตุ อุปัท ทวา
ด้วยอำนาจแห่งกระทำความนอบน้อม ขออุปัทวะทั้งหลาย จงปราศจากไป
นโม การา นุภาเวนะ สุวิตถิ โหตุ สัพพทา
ด้วยอำนาจแห่งกระทำความนอบน้อม ขอความสวัสดีจงมีทุกเมื่อ
นโม การัส สเตเชนะ วิธิมหิ โหมิ เตชวา
ด้วยเดชแห่งการกระทำความนอบน้อม ขอเราจงมรแต่เดชในมงคลพอธี.
* บทนี้เรียกเป็นสามัญว่า " นโม ๘ บท " เป็นคาถาพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่งในภาษาบาลี ทรงสามารถในอันที่จะทรงพระราชนิพนธ์คาถาหรือคำกลอนในภาษาบาลีได้อย่างถูกต้องและไพเราะเท่าเทียมกับนักปราชญ์ในยุคก่อนๆ และอาจจะถือเป็นคติำได้ประการหนึ่งในเรื่องความเชี่ยวชาญทางภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาของชาติใหน ผู้เป็นชาติอื่นที่ควรยกย่องว่าเป็นผู้เขี่ยวชาญในภาษานั้นๆอย่างแท้จริง ก็คือต้องสามารถแต่งกลอนในภาษานั้นๆได้ถูกต้องตามกฏข้อบังคับ ได้รสได้เรื่องตามแนวของภาษาซึ่งก็แสดงว่าท่านเชี่ยวชาญจริงๆ
นโม ๘ บทนี้ สวดต่อจากบท สัมพุทเธ หรือนมการสิทธิคาถา ใช้สวดเฉพาะงานมงคล และมีการตั้งน้ำวงด้วยเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งไว้ใจความว่า " สวดทำน้ำมนต์มีสรรพ คุณชะงัดนัก "
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น