บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2012

กินเองย่อมอิ่มเอง

รูปภาพ
อตุตฺนา กุรุเต อลกฺขึ กุรุตฺตนา น หิ ลกฺขึ อลกฺขึ วา อญฺโณ อญฺญสฺส  การโก คนย่อมทำความดีและความชั่วด้วยตยเอง คนอื่นจะทำความดีหรือความชั่วให้ไม่ได้เลย                                                                    ( โพธิสัตว์)    สิริกาฬกัณณิชาดก ๒๗/๑๙๒ บุคคลคือ....ผู้กระทำ ไม่มีใคร...........ทำแทนใครได้ กรรม...คือการกระทำ ทำความดี เรียก..................กรรมดี ทำความชั่วเรียก .....................กรรมชั่ว อยากรู้ว่าไฟร้อนอย่างไรก็ต้องจับไฟนั้นเอง อยากรู้ว่าความเย็นของน้ำแข็งเป็นอย่างไร ก็ต้องจับน้ำแข็งนั้นเอง หิวก็ต้องทานเอง จ้างให้คนอื่นทานแทน....เราหาอิ่มไม่ ไหว้วานให้คนอื่น  มาทุกข์  มาสุข    แทนเรา ..................ก็หาทำได้ไม่ ถึงแม้บางครั้งจะมีคนนำทุกข์มาให้ แต่การออกจากทุกข์เป็นเรื่องของตัวเราเอง นี้คือ   สัจจธรรม ไม่มีใครหลีกหนีพ้น จึงอยู่ที่เรา...ว่า จะเลือกกรรมใดในการกระทำ ตัาเราเพียงผู้เดียว .........เท่านั้น.

เรื่องธรรมดา

รูปภาพ
เอกนฺตํ  นินฺทิโต โปโส เอกนฺตํ วา ปสํสิโต คนที่ถูกนินทา และสรรเสริญ โดยส่วนเดียวไม่มี                                                                                                    ( พุทธ )        ธรรมบท ๒๕/๓๘ ในโลกธรรม 8  พระพุทธองค์ตรัสชี้แจงธรรมของโลกไว้ว่า  หมายถึง เรื่องของโลก มีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์ เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบ ด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ  ใครประสบมาก ประสบน้อย  ช้าหรือเร็ว  โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กัน และมีความหมายตรงข้ามกัน คือ 1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ - ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา - ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต - ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ - ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ 2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏ

ขออนุญาตแจ้งงานบุญ กฐินทาน

เชิญร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคี กรุงเทพมหานคร-อ่างทอง ณ วัดบ้านพราน  ต.ศรีพราน  อ.แสวงหา  จ.อ่างทอง วันอาทิตย์ที่ ๒๕    พฤศจิกายน     พ.ศ. ๒๕๕๕ --------------------------------------------------------------------- 0 -----------------------------------------------------------------------                                 เนื่องด้วยวัดบ้านพราน  กำลังดำเนินการบูรณะปฎิสังขรณ์อุโบสถที่ชำรุดทรุดโทรม แต่ทางวัดยังขาดจตุปัจจัยเป็นจำนวนมากในการดำเนินการ  จึงขอเชิญชวนท่านสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี เพื่อนำจตุปัจจัยสมทบทุนบูรณะอุโบสถในครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี                         และเพื่อเป็นการสงเคราะห์พระสงฆ์ตามพระบรมพุทธานุญาต ในกฐินทาน  เป็นการบำเพ็ญบุญอันยิ่งใหญ่ทางพระพุทธศาสนาจึงขอเจริญพรมายังผู้ใจบุญได้ร่วมบริจาคทรัพย์ บริขารกฐิน หรือเดินทางไปร่วมอนุโมทนาทอดกฐินสามัคคีในครั้งนี้โดยพร้อมเพรียงกันตามกำหนดการดังนี้ กำหนดการ                     วันอาทิตย์ที่ ๒๕  พฤศจิกายน   พ.ศ. ๒๕๕๕             ( ตรงกับวันขึ้น  ๑๒  ค่ำ  เดือน ๑๒ )               

ลมหายใจตนเอง

รูปภาพ
คนเราทุกวันนี้นั้น เสียเวลาในการเฝ้ามองผู้อื่นมากเกินไป ทำเพื่อคนอื่นมากเกินไป ใส่ใจคนอื่นมากเกินไป จนลืม.... ...................ใส่ใจตนเอง ทำเพื่อตนเอง และเฝ้ามองลมหายใจตนเอง เฝ้าฝากชีวิตไว้กับคนอื่น ทั้งๆที่คนเรานั้นหายใจแทนกันไม่ได้ อิ่มแทนกันไม่ได้ สุขทุกข์แทนกัน...ไม่ได้ ความทุกข์จึงเกิดขึ้นมากมายกับตัวเอง ไม่มีที่สิ้นสุด หากหันกลับมาเฝ้าติดตามจิตตนเอง คอยจับจ้องการวิ่งไปวิ่งมาของจิต ที่วันๆเตลิดเปิดเปิงเหมือนคนบ้า จะรู้ว่ามันน่าเหนื่อยสักเพียงไร ทุกวินาทีไม่เคยหยุดนิ่ง ไม่เคยสงบ แล้ว จะพบว่า ถึงเวลาเสียที ที่จะหันมารักษาสภาพจิตของตนเอง ด้วยวิธี.......................ง่ายๆ เพียงแค่เฝ้าสังเกตุลมหายใจเข้าออกเท่านั้น เท่านั้นเอง...คือทางออกจากทุกข์.

โลกธรรม 8

รูปภาพ
                                       หากไม่รู้จักปล่อยวาง ก็จะว้าวุ่นเป็นทุกข์อยู่ทุกขณะจิต หายใจเข้าก็ทุกข์    หายใจออกก็ทุกข์ นั่งนิ่งๆก็เป็นทุกข์     นอนตากแอร์ก็เป็นทุกข์ ทุกข์์์.....ตลอดเวลา คิดดูสิว่า ............. ถ้าทุกคนต้องพูดให้ถูกใจเรา ทุกคนต้องทำให้ถูกใจเรา เราจึงจะมีความสงบสุข     เรา...จึงจะสบาย แล้วมีไหมคนทั้งโลกที่ว่า      ไม่มี...ไม่มีหรอก ไม่มีใครเอาอกเอาใจใครได้ตลอดเวลา และทำได้ดีอย่างสม่ำเสมอ...เพื่อเรา ไม่มีหรอก  พระพุทธองค์ตรัสสอนเรื่องโลกธรรม ๘ ว่า.................... ความหมายของโลกธรรม 8 โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของ โลก  ที่มีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์ เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบ ด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม  ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อย ...ช้าหรือเร็ว  โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่าย ควบคู่กันและมีความหมาย ตรงข้ามกัน คือ   1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ - ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเ

การสังคายนาครั้งต่อๆมา

รูปภาพ
ครั้งที่ 2 การทำสังคายนาครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 100 ที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย โดยมีพระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พระเถระผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมทำสังคายนาครั้งนี้ได้แก่ พระสัพพกามี พระสาฬหะ พระขุชชโสภิตะ พระวาสภคามิกะ (ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาจีนกะ) พระเรวตะ พระสัมภูตะ สาณวาสี พระยสะ กากัณฑกบุตร และพระสุมนะ (ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาฐา) ในการนี้พระเรวตะทำหน้าที่เป็นประธานผู้คอยซักถาม และพระสัพพกามีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 700 รูป ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 8 เดือน จึงเสร็จสิ้น ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พระยสะ กากัณฑกบุตร พบเห็นข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการทางพระวินัยของภิกษุวัชชีบุตร เช่น ควรเก็บเกลือไว้ในเขาสัตว์เพื่อรับประทานได้ ควรฉันอาหารยามวิกาลได้ ควรรับเงินทองได้ เป็นต้น พระยสะ กากัณฑกบุตรจึงชวนพระเถระต่างๆ ให้ช่วยกันวินิจฉัย แก้ความถือผิดครั้งนี้ โดยรายละเอียดของปฐมสังคายนาและการสังคายนาครั้งที่สอง มีกล่าวถึงในพระวินัยปิฎก จุลลวรรค แม้ในวินัยปิฎกจะไม่กล่าวถึงคำว่าพระไตรปิฎกใ

ปฐมสังคายนา

รูปภาพ
ปฐมสังคายนา การทำสังคายนาครั้งแรก เกิดขึ้นภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 3 เดือน ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย ในพระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอชาตศัตรู โดยมีพระมหากัสสปเถระทำหน้าที่เป็นประธาน และเป็นผู้คอยซักถาม มีพระอุบาลีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย และมีพระอานนท์เป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อธรรม การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระอรหันต์มาประชุมร่วมกันทั้งหมด 500 รูป ดำเนินอยู่เป็นเวลา 7 เดือน จึงเสร็จสิ้น มูลเหตุ ในการทำสังคายนาครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อพระมหากัสสปเถระทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าหลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน บรรดาลูกศิษย์พระมหากัสสปเถระ เมื่อได้ทราบข่าวต่างพากันร้องไห้คร่ำครวญ แต่มีภิกษุอยู่รูปหนึ่งชื่อสุภัททะ ซึ่งเป็นภิกษุแก่ กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะร้องไห้กันไปทำไม เมื่อสมัยที่พระพุทธเจ้ายังอยู่ พระองค์ทรงเข้มงวดกวดขัน คอยชี้ว่านี่ถูก นี่ผิด นี่ควร นี่ไม่ควร ทำให้พวกเราลำบาก บัดนี้พระองค์ปรินิพพานไปแล้ว พวกเราจะได้ทำอะไรตามใจชอบเสียที เมื่อพระมหากัสสปเถระได้ฟังดังนี้ก็รู้สึกสลดใจ ดำริว่าแม้พระพุทธเจ้าปรินิพพาน

กำเนิดพระอรหันต์สาวก

รูปภาพ
ตำนานอนันตลักขณสูตร เมื่อพระพุทธองค์แสดงธรรมจักกัปปัตตสูตรโปรดเบญจวัคคีย์จบ และพระโณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วและได้รับการอุปสมบถในสำนักของพระศาสดาในวันเพ็ญเดือน ๘ แล้ว ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ก็ได้ทรงอธิบายขยายเนื้อความ พระธรรมจักรนั้นให้กับฤาษีเบญจวัคคีย์ที่เหลือฟังต่อไปอีกในวันต่อมา ท่านวัปปะก็ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วก็ทูลขออุปสมบถ พระองค์ก็ประทานการอุปสมบถให้เหมือนกับท่านโกณฑัญญะ วันต่อมา ท่านภัททิยะ ท่านมหานามะ และวันต่อมา ท่านอีสสชิได้ดวงตาเห็นธรรม และทูลขออุปสมบถตามลำดับ เมื่อทรงเห็นว่าเบญจวัคคีย์ทั้งห้านั้นมีอินทรีย์ แก่กล้าควรที่จะเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไปได้ จึงได้ทรงแสดงอนันตลักขณสูตร ซึ่งมีใจความย่อดังนี้ ขันธ์ห้า คือรูปได้แก่ร่างกาย, เวทนา การเสสวยอารมณ์ที่เป็นสุขเป็นทุกข์หรือเฉยๆ, สัญญา ความจำหมายได้รู้ สังขาร สภาวธรรมที่เกิดกับจิต มีหน้าที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว และวิญญาณ ได้แก่จิต ขันธ์ทั้งหมดนี้เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่ตน ถ้าขันธ์ห้านี้เป็นตัวเป็นตนแล้วไซร้ นธ์ห้าไม่พึงเป็นไปเพื่อความอาพาธ และพึงหวังได้ว่าขันธ์ห้าของเราจงเป็นอย่างนี้ หรือว่าจงอย่าเป็นอย่

อาทิตตปริยายสูตร

รูปภาพ
 อาทิตตปริยายสูตร พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๔         [๕๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ตำบลคยาสีสะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑๐๐๐ รูปล้วนเป็น ปุราณชฎิล .  ได้ยินว่าพระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ  ใกล้แม่น้ำคยานั้น พร้อมด้วยภิกษุ  ๑๐๐๐ รูป.            ณ ที่นั้น  พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้: ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน,   ก็อะไรเล่าชื่อว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน?          ดูกรภิกษุทั้งหลาย   จักษุ เป็นของร้อน   รูป ทั้งหลายเป็นของร้อน   วิญญาณ อาศัยจักษุเป็นของร้อน   สัมผัส อาศัยจักษุเป็นของร้อน   ความเสวยอารมณ์ ( เวทนา ) เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัส เป็นปัจจัยแม้นั้นก็เป็นของร้อน [กล่าวคือเป็นไปดังกระบวนธรรมนี้   ตา(จักษุ)   รูป   จักษุวิญญาณ  ผัสสะ   เวทนา  เป็นสุขเป็นทุกข์ หรืออทุกขมสุขเวทนา]     ร้อนเพราะอะไร?  เรากล่าวว่า       ร้อนเพราะไฟคือ ราคะ   เพราะไฟคือ โทสะ   เพราะไฟคือ โมหะ     ร้อนเพราะความ เก