บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2013

คำสอนหลวงปู่มั่น

รูปภาพ
    ลิขสิทธิ์ภาพ สิโรจน์  พวงบุบผา "ของดีมีอยู่กับตัวเราทุกคน ก็พากันปฏิบัติเอา ทำเอา เมื่อเวลาตายแล้วจึงวุ่นวายหานิมนต์พระมากุสลามาติกา  ไม่ใช่เกาถูกที่คัน ต้องรีบแก้เสียบัดนี้ คือเร่งทำความดีแต่บัดนี้ จะได้หายห่วง อะไร ๆ ที่เป็นสมบัติของโลก มิใช้สมบัติอันแท้จริงของเรา ตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล สมบัติในโลกเราแสวงหามา หากทุจริตก็เป็นไฟเผา เผาตัวทำให้ฉิบหายได้จริง ๆ ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและความโง่เขลาของผู้แสวงหาแต่ละราย ท่านผู้พ้นทุกข์ไปด้วยความอุตส่าห์สร้างความดีใส่ตนจน กลายเป็นสรณะของพวกเรา ท่านไม่เคยมีสมบัติเงินทองเครื่องหวงแหน เป็นคนร่ำรวยสวยงามเฉพาะสมัย จึงพากันรักพากันห่วงจนไม่รู้จักเป็น รู้จักตาย สำคัญตนว่าจะไม่ตายและพากันประมาทจนลืมตัว เพลิดเพลินตักตวงเอาแต่สิ่งไม่เป็นท่าใส่ตนแทบหาบไม่ไหว อย่าสำคัญว่าตนเอง เก่งกาจสามารถฉลาดรู้กว่าเขาเลย ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเอง จนไม่มีวันสร่างซา เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์ ยังไม่เตรียม ขอให้ทราบไว้เสียแต่บัดนี้ ซึ่งอยู่ในฐานะอันควร.

ทั้งตนและผู้อื่น

รูปภาพ
ลิขสิทธิ์ภาพ สิโรจน์  พวงบุบผา “รักษาไว้ทั้งตนทั้งผู้อื่น”  ทุกคนในโลก...  ต่างต้องถ้อยทีต้องพึ่งพาอาศัยกัน  ในทางใดทางหนึ่งทั้งนั้น  จึงควรปฏิบัติตนในทางที่จะชื่อว่า...  “รักษาไว้ทั้งตนทั้งผู้อื่น”  คือด้วยวิธีที่แต่ละคนตั้งใจปฏิบัติกรณียะ  คือกิจของตน  ควรทำตามหน้าที่เป็นต้นให้ดี  และด้วยความน้ำใจที่อดทน  ไม่คิดเบียดเบียนใคร  มีจิตเมตตา  มีเอ็นดู  อนุเคราะห์  เมื่อตั้งใจปฏิบัติกรณียะ  กอปรด้วยมีน้ำใจดังกล่าว  ก็ชื่อว่า...  “รักษาทั้งตน ทั้งผู้อื่น” เป็นผู้รักษาไว้ได้ทั้งหมด      พระคติธรรม  สมเด็จพระญาณสังวร     สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก

ธรรมะรักษาใจ

รูปภาพ
ความสุขอย่างยิ่งของเราทุกคน...อยู่ที่ใจดวงนี้ ใจเป็นสิ่งที่บังคับได้ด้วยการฝึก  สามารถฝึกให้อยู่ในอำนาจได้ ใจนั้นฝึกอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ฝึกให้เป็นใจที่ดี...ก็จะเป็นใจที่ดี ฝึกให้เป็นที่ร้าย..ก็จะเป็นใจที่ร้าย ฝึกให้เป็นใจที่สงบเย็น..ก็จะเป็นใจที่สงบ ฝึกให้เป็นใจที่วุ่น..ก็จะเป็นใจที่วุ่น ฝึกให้เป็นใจที่สว่างด้วยปัญญา...ก็จะเป็นใจที่สว่างด้วยปัญญา ฝึกให้เป็นใจที่มืดด้วยไม่มีปัญญา...ก็จะเป็นใจที่มืดด้วยไม่มีปัญญา “ใจฝึกได้  บังคับได้  ถ้าตั้งใจฝึกให้จริง” ความสุขอย่างยิ่งของเราทุกคน  ไม่ได้อยู่ที่อะไรอื่นทั้งสิ้น แต่ อยู่ที่... ใจดวงนี้...เท่านั้น   พึงทำความเข้าใจให้ถูก  หนทางดำเนินไปสู่ การ ...ทำใจให้เป็นสุขนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ชัดแจ้งหลาย อย่าง  สามารถเลือกให้เหมาะกับจริตนิสัยของตนได้.

เข้าใจเรื่องบุญ

รูปภาพ
.....คำว่า บุญ นี้ย่อมทราบกันดีแล้วว่า เป็น นามธรรม   มีแต่ชื่อเท่านั้น มิได้มีรูปร่าง ต้นเหตุที่เกิดของบุญ เรียกว่า บุญญสมุทัย   มีอยู่ ๓ ประการ คือ อโลภะ ความไม่โลภ ๑  อโทสะ ความไม่โกรธ  ๑  อโมหะ ความไม่หลง ๑         การทำบุญ จะทำอย่างไรก็ตาม ต้องทำโดยมีเจตนาความตั้งใจ เพื่อลดความโลภของตนให้น้อย เบาบางลงจนถึงหมดสิ้นก็ดี เพื่อลดความโกรธให้ลดน้อย เบาบางลงจนถึงหมดสิ้นก็ดี เพื่อลดความหลงงมงาย คือความรู้ไม่จริง รู้ผิด ๆ ถูก ๆ หรือไม่รู้เลยแล้วอบรมเพาะบ่มให้เกิดสติปัญญาความรอบรู้ อันเป็นคุณธรรม บรรเทาความหลง และให้เกิดวิชา ที่เป็นเหตุข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้ในที่สุดก็ดี รวมเรียกว่า บุญญสมุทัย ต้นเหตุแห่งบุญ เปรียบดั่งรากเหง้า อันจะทำให้บุญเกิดขึ้น บุญกิริยาวัตถุ วิธีทำบุญ แยกออกอย่างย่อมี ๓ ประการ คือ ทานมัย บุญที่เกิดด้วยการ บริจาคทาน การให้ ๑ สีลมัย บุญที่เกิดด้วยความประพฤติเรียบร้อยดีงาม ได้แก่ การรักษาศีล ๑ ภาวนามัย บุญที่เกิดด้วยเพาะบ่มอบรมจิตให้เกิดมี เกิดเป็นขึ้น คือ การบำเพ็ญเพียรเจริญภาวนา สวดมนต์ไหว้พระ ๑ พระธรรมเทศนา เรื่อง "ที่พึ่งชีวิต" ๑๘ เ

พระพุทธพจน์ด้วยอำนาจแห่งปิฎก

รูปภาพ
 ภาพ สิโรจน์  พวงบุบผา ลิขสิทธิ์                          พระพุทธพจน์ทั้งปวงเป็น ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปิฎกอย่างไร?                 ก็พระพุทธพจน์แม้ทั้งปวงมีอยู่ ๓ ประการเท่านั้น คือพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก.                 ใน ๓ ปิฎกนั้น พระพุทธพจน์นี้คือ ประมวลพระพุทธวจนะแม้ทั้งหมด ทั้งที่ร้อยกรองในปฐมสังคายนา ทั้งที่ร้อยกรองในภายหลัง เป็นปาฏิโมกข์ ๒ ฝ่าย วิภังค์ ๒ ขันธกะ ๒๒ บริวาร ๑๖ ชื่อวินัยปิฎก.                 พระพุทธวจนะนี้คือ ทีฆนิกายเป็นที่รวบรวมพระสูตร ๓๔ สูตร มี พรหมชาลสูตร เป็นต้น                 มัชฌิมนิกายเป็นที่รวบรวมพระสูตร ๑๕๒ สูตร มี มูลปริยายสูตร เป็นต้น                 สังยุตตนิกายเป็นที่รวบรวมพระสูตร ๗,๗๖๒ สูตร มี โอฆตรณสูตร เป็นต้น                 อังคุตตรนิกายเป็นที่รวบรวมพระสูตร ๙,๕๕๗ สูตร มี จิตตปริยาทานสูตร เป็นต้น                 ขุททกนิกาย ๑๕ ประเภทด้วยอำนาจแห่งขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน พุทธวงศ์ จริยาปิฎก ชื่อสุตตันตปิฎก.                 พร

จำแนกพระพุทธพจน์

รูปภาพ
    [พระพุทธพจน์มีอย่างเดียว]                                พระพุทธพจน์ ชื่อว่ามีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรสอย่างไร?            ภาพ สิโรจน์  พวงบุบผา ลิขสิทธิ์        คือ ตามความเป็นจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณจนถึงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างนี้ทรงพร่ำสอนเทวดา มนุษย์ นาค และยักษ์ หรือทรงพิจารณาตลอดเวลา ๔๕ ปี ได้ตรัสพระพุทธพจน์ใดไว้ พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมด มีรสอย่างเดียว คือมีวิมุตติเป็นรส เท่านั้น.                 พระพุทธพจน์ ชื่อว่ามีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรส ด้วยประการฉะนี้.   [พระพุทธพจน์มี ๒ อย่าง]                                พระพุทธพจน์ชื่อว่ามี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจธรรมและวินัยอย่างไร?                 คือ อันพระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้นั่นแล ย่อมถึงการนับว่า พระธรรมและวินัย. บรรดาธรรมและวินัยนั้น วินัยปิฎก ชื่อว่าวินัย. พระพุทธพจน์ที่เหลือชื่อว่าธรรม. เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระมหากัสสปได้กล่าวไว้แล้วว่า ผู้มีอายุ! อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงสังคายนาธรรมและวินัย และว่า เราพึงถามพระวินัยกะท่านอุบาลี พึงถามพระธรรมกะท่านอานนท์ ดัง

พระพุทธเจ้ารังเกียจอะไร?

รูปภาพ
ภาพลิขสิทธิ์ ศิลปิน สิโรจน์ พวงบุบผา ท่านพระโคดมช่างรังเกียจ. " มีอยู่จริงๆ พราหมณ์  เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างรังเกียจ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก  เพราะเรารังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต  เรารังเกียจความถึงพร้อมแห่ง... สภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง." พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

คุณค่าของมงคล ๙ ประการ จากการให้ธรรมทาน

รูปภาพ
ลิขสิทธิ์ภาพ สิโรจน์  พวงบุบผา ผู้ที่ให้ธรรมะเป็นทานขอให้ท่านจงภูมิใจเถิดว่า... ท่านได้ทำสิ่งที่มีคุณค่า ๙ มงคล ดังนี้… ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการ “รักษาพระพุทธศาสนา” ให้มีความยั่งยืนถาวร ได้ชื่อว่าเป็นผู้บำเพ็ญ “ทานบารมีที่เยี่ยมยอด” คือธรรมทานบารมี ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการ “เผยแพร่หลักธรรม” คำสอนของพระพุทธเจ้า ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการ “สร้างความเห็นที่ถูกต้อง” (สัมมาทิฏฐิ) ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการ “ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน” ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการ “เสริมสร้างสันติภาพ และสันติสุขแก่ชาวโลก” ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการ “ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม” อันดีงาม ได้ชื่อว่าเป็นผู้ส่งเสริมในการ “เลือกสรรสิ่งดีให้แก่ผู้รับ” ได้ชื่อว่าเป็นผู้แสดงออกถึงน้ำใจอันดีงามของ “กัลยาณมิตร” ท่านที่ได้บำเพ็ญธรรมทานบารมีดังกล่าวมาแล้ว  ย่อมประสบแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง  ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า  และเป็นผู้ปราศจาก ทุกข์ โศก โรคภัย ทั้งปวง… ” อักขะรา เอกัง เอกัญจะ พุทธะรูปั

อานิสงส์...ธรรมทาน

รูปภาพ
 ภาพ สิโรจน์  พวงบุบผา ลิขสิทธิ์ พุทธพจน์:  “...ดูกรสุภูติ หากชายคนหนึ่งทำทาน โดยการถวายทานด้วยสมบัติกองสูงเท่ากับภูเขาพระสุเมรุ ทั้งจักรวาลมารวมกัน  ส่วนอีกคนหนึ่ง รับฟังคำสอนไว้ในใจ  อ่าน เรียนรู้ จดจำ แล้วสั่งสอนผู้อื่น บุญกุศลของชายคนแรกยังไม่มาก เท่าหนึ่งในร้อย หนึ่งในพัน หนึ่งในแสน  ของบุญกุศลที่ชายคน ที่สองได้รับ เพราะไม่สามารถจะเปรียบกันได้เลย”

ธรรมอันทำให้งาม

รูปภาพ
ธรรมอันทำให้งาม คือ ขันติโสรัจจะ  คือ การสำรวมกายวาจาใจ ให้เป็นขันติ  คือความสงบอารมณ์ ของจิตใจให้เรียบร้อย ไม่แสดงอาการ ที่ โมโห โกรธ หรือ ดีใจ เสียใจ จนเกินไป  ทำให้ดูไม่งาม  บัณฑิตพึงรู้ด้วยปัญญาอันดีของตนเอง  ดั่งนั้น การที่ขบวนการสฬายตนะเกิดขึ้น ก็ให้สำรวม กาย วาจา ใจ ตนเอง ให้ดีพึงมีสติสัมปชันญะให้ดี อย่าไปปรุงแต่งมัน เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้นให้วางเฉย เป็นอุเบกขา  ให้รู้อยู่  แต่...ไม่ไปปรุง่แต่งเวทนานั้นต่อ  ขบวนการเกิดภพเกิดชาติก็ไม่เกิด เป็นการตัดภพตัดชาติ ในปัจจุบันได้  ฝึกบ่อยๆทำให้มากๆไม่นาน...ก็จะชิน และทำเองจนเป็นนิสัย  แต่... ที่สำคัญคือต้องมี สติสัมปชัญญะ  รู้ตัวว่าทำอะไรอยู่...เท่านั้นเอง  รู้แล้ว... ปล่อย...วาง       รู้แล้ว...ปล่อย...วาง  มีสติดำรงอยู่ไม่วอกแว่ก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ปรุ่งแต่ง  กรรมที่ไม่ดีก็ไม่เกิด ทุกอย่างก็จบ ในที่ตรงนั้น ในปัจจุบัน  คือตัดสายขบวนการสฬายตนะ  ...การเกิด...ก็ไม่มี. 
รูปภาพ
ผู้มีขันติคือผู้ที่ แม้มี ความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่ในใจมากมายเพียงใดก็ตาม เมื่อมีขันติ ไม่แสดง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ออกมาอย่างรุนแรง โดยไม่คำนึงถึงความถูกความผิด ความหนักความเบา  ขันติเป็นความมีใจอดทน อดกลั้น หรือจะกล่าวว่า ทนเก็บความรู้สึกไม่ ว่าโลภ ไม่ว่าโกรธ ไม่ว่าหลง ที่เกิดขึ้นรุนแรงเพียงใดก็ตาม ให้อยู่แต่ภายในใจตน ไม่ให้พ้นใจออกปรากฏเป็นการ ติเตียน ทะเลาะวิวาท ฆ่าฟันกันถึงเป็นถึงตายอันเป็นบาปกรรมทั้งหลาย เป็นไปตามพระศาสนสุภาษิตในพระพุทธศาสนาจริงที่ว่า “ขันติตัดรากแห่งมารได้”  ผู้ที่ไม่ได้แสดงความมีขันติให้กลายเป็นความไม่มีขันติ หรือ ขันติแตก อาจไม่ใช่ผู้มีขันติจริง เมื่อเกิดอะไรขึ้นที่น่าจะก่อให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง ผู้มีขันติอดทนอดกลั้นจริงไม่ต้องใช้กำลังใจมากมาย เป็นไปง่ายๆ สบายๆ แต่ก็เป็นขันติ  จึงน่าจะแบ่งขั้นได้ว่าเป็นชั้นสูงเหนือขันติธรรมดาทั่วไป ผู้มุ่งมีขันติทั้งหลายอาจต้องข่มใจมาก ถ้าข่มได้สำเร็จ ขันติก็จะเป็นขันติ ไม่เป็นขันแตกให้น่ากลัว  ขันติจะเข้าสู่ระดับไม่ต้องข่มใจหนักหนาได้ ต้องอยู่ที่การพยายามฝึกเสมอ เมื่อ กระทบอารมณ์ใดก็ให้ระวังใจให้ดีที่สุด