ภาพุทธประวัติและบรรยาย






พุทธประวัติโดยย่อ





ก่อนพุทธกาล ณ เมืองกรุงกบิณพัสดุ์ ซึ่งเป็นราชธานีแห่งแคว้นศากยะ 




พระนางสิริมหามายา (พระราชมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะ) ทรงฝันเห็นพญาช้างเผือก 9 งวง ลอยมาจากสวรรค์ พญาช้างเผือกนั้นเดินตรงมาที่พระองค์ ชูงวงที่มีดอกบัวสีชมพูและวางดอกบัวนั้นบนพระวรกายของพระนาง พระนางรู้สึกสบาย และเปี่ยมสุขมาก




          พระนางเสด็จกลับกรุงรามคาม แคว้นโกลิยะ เพื่อประสูติกาล ตามประเพณีที่ต้องไปคลอดยังบ้านพ่อแม่ตน ในระหว่างทางพระนางทรงหยุดพัก ณ สวนลุมพินี และทรงดำเนินตรงไปที่ต้นอโศก (ต้นสาละ) ขณะนั้นก็รู้สึกเจ็บพระครรภ์มาก เดินเซไปมาไม่มั่นคง จึงเหนี่ยวกิ่งอโศกไว้ และทรงพระประสูติกาลขณะที่ยังทรงเหนี่ยวกิ่งอโศกอยู่ เมื่อเจ้าชายน้อยได้รับการชำระพระวรกายสะอาดแล้ว นางกำนัลได้นำผ้าไหมสีเหลืองมาห่อหุ้มพระวรกายไว้ หลังจากทรงประทานประสูติกาลเจ้าชายสิทธัตถะได้เพียง 8 วัน พระนางสิริมายาก็ทรงสิ้นพระชนม์

            วันวิสาขบูชา เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งเกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน คือ ในวันเพ็ญ(ขึ้น 15 ค่ำ) เดือนหก หรือเดือนเวสาขะ พระจันทร์เสวยวิสาฤกษ์   เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อกว่าสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว
              ครั้งแรก   เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ โอรสพระเจ้าสุทโธธนะ  และ พระนาง สิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ โดยประสูติที่ป่าลุมพินีวัน ณ เขตแดนรอยต่อระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ของฝ่ายพระราชบิดา กับกรุงเทวทหะของฝ่ายพระราชมารดา

              ครั้งที่สอง เกิดเมื่อเจ้าชายสิทธัตถ ออกทรงผนวชได้ 6 ปี พระชนมายุ 35 พรรษา ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นอรหันตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ริ่มฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ประเทศมคธ ปัจจุบันคือที่ตั้งพุทธคยา

              ครั้งที่สาม   เกิดเมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา ณ เมืองกุสินาราย
          



          เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบ (พระบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ) ก็ทรงดีพระทัยอย่างมาก และทรงตั้งชื่อโอรสว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "ผู้สำเร็จสมความปรารถนา"




          หนึ่งสัปดาห์ต่อมา พระฤาษีนาม อสิตะ เดินทางเข้าพระราชวัง ท่านหลังโก่ง ใช้ไม้เท้าค้ำเดินด้วยความชราภาพ เมื่อพระอาจารย์อสิตดาบสพบเจ้าชายสิทธัตถะ ก็ได้แต่เพ่งมองดูอยู่นานโดยไม่กล่าววาจาใดๆ เลย จากนั้นก็เริ่มร้องไห้ ร่างกายสั่นเทา แล้วจึงทูลบอกว่า เด็กผู้นี้จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ที่สามารถไขปริศนามายาทั้งปวงของจักรวาล




          ครั้งเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ 9 พรรษา พระองค์ได้เข้าร่วมในงานพิธีแรกนาขวัญ ทรงทอดพระเนตรเห็นไส้เดือนและสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในดินถูกไถตัดขาดเป็นท่อนๆ เป็นอาหารของนก และทรงเห็นนกตัวใหญ่ก็จิกกินนกตัวเล็กเป็นอาหารเช่นกัน พระองค์ทรงเห็นแปลก เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน พระองค์ทรงวิ่งไปที่ใต้ต้นชมพู่ เพื่อหลบร้อน แล้วได้ทรงประทับนั่งในท่าขัดสมาธิ พระองค์ทรงหลับพระเนตร เพื่อทบทวนสิ่งที่ได้เห็น ท่านนั่งในท่าหลังตั้งตรงเป็นเวลานาน ประดุจรูปปั้นเล็กๆ พระเจ้าสุทโธทนะทรงไม่สบายพระทัย เพราะอยากให้เจ้าชายสิทธัตถะปกครองเมืองต่อ ไม่อยากให้เป็นไปดังคำทำนาย




          เจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพรสวรรค์พิเศษหลายๆ ด้าน และชำนาญในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นดนตรี ต่อสู้ การจำบทพระเวท ท่านทรงเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ท่านมีพระปรีชาสามารถสูง ครั้นเมื่อมีการจัดแข่งขันประลองยุทธ์ ณ บริเวณสยามหลวงชายทะเลสาบกุนอ เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ตำแหน่งชนะเลิศในการแข่งขันทุกประเภท รวมทั้งการยิงธนู ฟันดาบ แข่งม้า และยกน้ำหนัก ในการแข่งขันครั้งนี้ เจ้าหญิงยโสธราเป็นผู้มอบรางวัลให้แก่พระทรงเป็นช้างเผือกหนึ่งเชือก




          เมื่อพระองค์เจริญพระชันษาเข้าสู่วัยรุ่นทรงเริ่มเบื่อหน่ายวัง จึงทรงออกประพาสนอกเขตพระนคร โดยมีนายฉันนะข้ารับใช้ติดตามไปด้วย ท่านเสด็จประพาสทุกซอกมุมของราชอาณาจักรศากยะ ทรงเห็นนักบวช ทารก คนแก่ คนป่วย คนตาย คนจน ในวันหนึ่ง พระองค์ทรงแปลกพระทัยที่เห็นเจ้าหญิงยโสธราในหมู่บ้านคนยากจน พร้อมข้ารับใช้ ซึ่งเจ้าหญิงกำลังตรวจดูอาการเด็กๆ ชาวบ้านอยู่ เจ้าชายสิทธัตถะทรงซาบซึ่งพระทัยในเจ้าหญิงยโสธราเป็นอันมาก ครั้นเมื่อมีงานราชสโมสร เจ้าชายสิทธัตถะได้มอบสร้อยพระศอเพชรให้กับเจ้าหญิงยโสธรา




งานอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายสิทธัตถะและเจ้าหญิงยโสธรา ซึ่งจัดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงต่อมา




ความสุขของเจ้าชายสิทธัตถะและเจ้าหญิงยโสธรา ไม่ได้ติดอยู่กับชีวิตที่หรูหรา และฐานันดรที่สูงส่ง แต่ความสุขของทั้งสองอยู่ที่การเปิดเผยพระหฤทัยต่อกัน


= ช่วงเวลานี้เจ้าชายสิทธัตถะและเจ้าหญิงยโสธราทรงงานราชการต่างๆ และทรงมีพระโอรสแล้ว พระนามว่า "ราหุล" =

          ก่อนวันงานรื่นเริงต้อนรับพระอาคันตุกะ ในคืนวันพระจันทร์เต็มดวงในเดือนอุตตรสาฬทะ เจ้าหญิงยโสธราทรงถามพระสวามี เกี่ยวกับการแก้ปัญหาให้คนทุกคนบรรเทาจากทุกข์ได้อย่างไร จนมาถึงค่ำคืนนี้พระองค์ได้ทรงประทับตามลำพังข้างนอก ทอดพระเนตรดูดาวเดือนต่างๆ ที่แจ่มจรัสบนฟ้า แล้วตัดสินใจแน่วแน่ว่า "หากเราไม่พบอริยมรรคแล้วไซร้ เราจะไม่กลับมาที่กรุงกบิลพัสดุ์อีก" แล้วจึงเสด็จเปลี่ยนฉลองพระองค์ในชุดเดินทาง




          พระองค์ทรงแหวกพระสูตรทอดพระเนตรดูเจ้าหญิงโคปา (เจ้าหญิงยโสธรา) และพระโอรสราหุลที่บรรทมอยู่ข้างๆ ทรงปรารถนาที่จะเข้าไปอำลาพระชายา แต่ก็ทรงยับยั้งพระทัยไว้ พระองค์ทรงทอดพระเนตรอยู่นานกับภาพอันเป็นที่รัก และเก็บเป็นความทรงจำไว้ ในที่สุดก็ทรงปล่อยพระสูตรแล้วเสด็จออกไป


          ขณะเสด็จผ่านท้องพระโรง เจ้าชายทอดพระเนตรเห็นบรรดาสาวนักเต้นรำนอนสลบไสล ขวางทางพระดำเนิน ผมเผ้ายุ่งเหยิง นอนอ้าปากหวอ นอนกร่ายกันอย่างกับซากศพก็ไม่ปาน เจ้าชายสิทธัตถะทรงรู้สึกราวกับกำลังเสด็จผ่านป่าช้า




          พระองค์เสด็จไปยังคอกม้า ซึ่งมีนายฉันนะรออยู่ ม้าของพระองค์ชื่อ "กัณฐกะ" เมื่อนายฉันนะนำม้าออกมา เจ้าชายทรงหยุดลูบแผงคอพระอาชา แล้วตรัสว่า "กัณฐกะคืนนี้เป็นคืนที่สำคัญที่สุด เจ้าต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในการเดินทางคืนนี้" ว่าแล้วพระองค์จึงทรงประทับบนหลังกัณฐกะ เมื่อผ่านประตูด่านไปเรียบร้อยแล้ว พระองค์ทรงหันกลับไปทอดพระเนตรราชธานี และทรงนึกเกี่ยวกับเรื่องราวมากมายภายในวัง ทั้งสุข เศ้รา ทุกข์ วุ่นวาย สับสน ทั้งหมดเกิดเป็นแรงบันดาลใจในเมืองเดียวนี้เอง แล้วพระองค์ทรงชักพระอาชาไปทางทิศใต้




          กัณฐกะเร่งฝีเท้าเต็มที่ก็ยังไม่พ้นเขตแดนแคว้นศากยะ จนรุ่งสว่าง เห็นแม่น้ำอโนมาขวางกั้นอยู่ เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จลงจากหลังม้า ทรงยิ้มแล้วลูบแผงคอพระอาชา ตรัสว่า "กัณฐกะ เจ้าคือม้ามัศจรรย์ ช่วยพาข้ามาที่นี้ ขอขอบใจเจ้าที่ช่วยเราครั้งนี้" กัณฐกะชูคอมองนายอย่างรักใคร่ หลังจากนั้น พระองค์ทรงชักพระแสงออกจากฝักที่อานม้า จากนั้นทรงฉวยมวยพระเกศาด้วยพระหัตถ์ซ้ายแล้วทรงตัดพระเกศาด้วยพระหัตถ์ขวา เจ้าชายทรงมอบพระเกศาและพระแสงให้กับนายฉันนะ และถอดสร้อยพระศอออก (ม้ากัณฐกะเมื่อกลับเข้าคอกแล้วไม่ยอมกินหญ้า กินน้ำ สิ้นชีวิตในอีก 2-3 วันต่อมา)




          พระองค์เสด็จเข้าไปในป่าเจอกับนักล่าสัตว์ที่ใส่ผ้าสีเหลือง จึงขอแลกฉลองพระองค์กับนักล่าสัตว์ แล้วบอกแก่นักล่าสัตว์ให้หยุดเสีย

          ตอนนี้พระองค์เป็นนักบวชอย่างแท้จริงแล้ว พระสิทธัตถะทรงอาศัยอยู่ในป่าเป็นเวลานาน และได้เรียนรู้จากการเป็นศิษย์หลายสำนัก พระองค์ได้กลับมาพิจารณาเรื่องการหลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งไม่ว่าจะร่าเรียนจากสำนัักใดๆ ก็ไม่เจอพ้นทางพ้นทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว พระองค์ต้องแสวงหากุญแจแห่งการตรัสรู้ด้วยลำพังพระองค์เอง



            พระสมณโคดมสิทธัตถะเริ่มโดยวิถีหนทางการบำเพ็ญทุกรกิริยา เพื่อบรรลุการหลุดพ้นเป็นเวลา 6 เดือน ช่วง 3 เดือนแรกประทับคนเดียว เดือนที่สี่ มี ปัญจวัคคีย์ เข้าร่วมด้วย อันได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ อัสสชิ และมหานามะ 


          อยู่มาวันหนึ่งพระสมณโคดมสิทธัตถะตระหนักถึงความผิดพลาดของแนวทางนี้ จึงตัดสินพระทัยฟื้นฟูสุขภาพของพระองค์และอาศัยสมาธิภาวนาเป็นเครื่องบำรุงกายและจิต ในเช้าวันหนึ่งพระองค์เสด็จไปยังแม่น้ำ เพื่อลงสรงและซักผ้าบังสกุล เมื่อเสด็จกลับขึ้นมา ทรงหมดแรง เป็นลมอยู่พักหนึ่ง มีเด็กสาวชื่อ สุชาดา มาพบเธอจึงเทนมใส่ชามจ่อที่ริมฝีปากของพระองค์ พระองค์รู้สึกตัวและทรงดื่มนมจนหมดชาม ในช่วงวันต่อๆ มา พระองค์ค่อยๆ เสวยกระยาหารและน้ำเป็นปกติ พวกปัญจวัคคีย์เห็นพระองค์กำลังประทับนั่งเสวยภักษาหารอยู่ จึงหมดศรัทธาในพระองค์ กล่าวว่า "พระสิทธัตถะมิใช่บุคคลที่พวกเราจะเชื่อถืออีกต่อไป ท่านละทิ้งหนทางกลางคัน ห่วงเรื่องการหาภักษาหารมาเลี้ยงกาย ฉะนั้นไม่มีเหตุผลใดต้องพำนักที่นี่แล้ว"




          ทุกครั้งที่สุชาดานำข้าวมธุปายาส ขนมนมเนย และเมล็ดบัวมาถวายรุกขเทวดา ก็จะนำมาถวายแก่พระสิทธัตถะด้วยเช่นกัน เธอเป็นผู้ที่ตั้งชื่อให้พระสมณโคดมสิทธัตถะว่า "พระพุทธเจ้า" อันมีที่มาจากคำว่า "ตื่น" ในภาษามคธ ออกเสียงว่า "พุทธะ" (ส่วนนาลากะ เด็กวัย 14 ปี เรียกต้นอัสสัตถพฤษ์ว่า "ต้นไม้แห่งความรู้แจ้ง" หรือ "ต้นโพธิ์" ซึ่งมีรากศัพท์คำเดียวกับ "พุทธะ" มีความหมายเหมือนกัน คือ ความรู้แจ้ง) เป็นต้นไม้ที่พระองค์ตรัสรู้และอยู่พำนักเป็นเวลา 6 เดือน




          ณ ใต้ต้นอัสสัตถพฤษ์ พระองค์ได้เข้าถึงศูนย์รวมพลังสมาธิ เพ่งวิปัสสนาญาณเห็นความเป็นจริง ลำดับต่อมาทรงจุดแสงสว่างแห่งการตื่นรู้ภายในสภาวะจิตของพระองค์เอง อันที่แหล่งกำเนิดของความทุกข์ ความกลัว ความโกรธ ความเกลียด และอวิชชา แลได้เข้าพระทัยว่าอกุศลมูล คืออวิชชา เมื่อใดที่หลุดพ้นจากอวิชชา จิตก็จะปลาสนาการไปเอง ท่านได้ตระหนักถึง หลักธรรม 2 ประการ นั้นคือ หลักอิทัปปัจยตา และ หลักอนัตตา ท่านอาศัยการเจริญสติ จิต กาย และลมหายใจหลอมรวมเป็นหนึ่งเข้าสู่ภวังค์อันล้ำลึก จนเห็นอดีตชาติ เห็นการเกิด และตายทุกครั้งของพระองค์นับครั้งไม่ถ้วน พระสมณโคดมเข้าสู่สมาธิภาวนายิ่งกว่าเดิมจนเห็นโลกนับอนันนต์เกิดขึ้นและดับไป ถูกสร้างขึ้นใหม่และถูกทำลายไป เมื่อเห็นแจ้งเช่นนั้น พระองค์ทรงยิ้มให้แก่ความแจ้งแล้วแห่งการเวียนว่ายตายเกิด เป็นรอยยิ้มแห่งความเข้าใจอันมัศจรรย์ เป็นญาณทัสนะหยั่งรู้การดับสลายของสรรพสิ่งอันไม่จีรัง ท่านบรรลุญาณนี้เวลายามสองของราตรี




ขณะที่ท้องฟ้า ปรากฏสายฟ้าผ่าลงมา ประกายฟ้าแลบสาดไปทั่วท้องฟ้าราวกับสวรรค์ถูกฉีกออกเป็นสองส่วน


ฝนตกหนัก พระองค์ทรงเปียกปอน แต่มิได้ขยับหนี ยังทรงบำเพ็ญภาวนาต่อไป




          พระองค์ทรงสาดแสงแห่งความรู้แจ้งไปทั่วพระจิต ดับรากเหง้าของอวิชชา เปิดขุมสมบัติของสติ ประจักษ์แจ้งในวิมุตติและการตรัสรู้ บรรลุอริยมรรคมีองค์แปด สัมมาทิฎฐิ (ความเข้าใจถูกต้อง) สัมมาสังกัปปะ (ความคิดถูกต้อง) สัมมาวาจา (คำพูดถูกต้อง) สัมมากัมมันตะ (การกระทำถูกต้อง) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพถูกต้อง) สัมมาวายามะ (ความพยายามถูกต้อง) สัมมาสติ (การมีสติถูกต้อง) และสัมมาสมาธิ (การมีสมาธที่ถูกต้อง) เมื่อพระองค์มองลึกสู่ใจกลางสรรพสิ่ง ทรงหยั่งรู้สภาวะจิตทุกผู้ทุกนาม และทรงได้อภิญญา คือ ตาทิพย์ หูทิพย์ และร่นย่นระยะทางได้โดยไม่ต้องเคลื่อนที่ พระสมณโคดมเอาชนะอวิชชาแล้ว ท่านตรัสรู้แล้วใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ (ต้นโพธิ์)




          พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อไปสระบัวที่พระองค์ทรงโปรดปราน ณ ที่นั้นพระองค์ทรงนั่งลงและเพ่งพิจารณาดอกบัวงามเหล่านั้น เห็นลำดับการเติบโตแต่ละขั้นของปทุมชาติ แล้วทรงดำริว่า หมู่ชนไม่แตกต่างไปจากเหล่าบัวเหล่านี้มากนัก แต่ละบุคคลมีสถานะตามธรรมชาติของเขาและเธอ




เมื่อเสด็จกลับสู่ต้นศรีมหาโพธิ์แล้ว ทรงตรัสกับสุชาดาว่าเราจะเดินทางไปหาปัญจวัคคีย์


            เมื่อพระองค์เสด็จไปสวนมฤคทายวันได้พบปัญจวัคคีย์ พระองค์จึงทรงบรรยายธรรมแห่งความรู้แจ้ง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ให้แก่ปัญจวัคคีย์ เมื่อได้ฟังคำสอนแล้ว ปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ก็ขอออกบวชเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า พระสาวกทั้ง 5 สามารถเข้าถึงอริยมรรค ท่านแรกที่บรรลุโพธิญาณ คือ พระโกณฑัญญะ อีก 2 เดือนต่อมา พระวัปปะ และพระภัททิยะก็บรรลุด้วย หลังจากนั้นไม่นาน พระมหานามะ และพระอัสสชิก็บรรลุอรหัตผล

              วันอาสาฬหบูชา  เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดง พระปฐมเทศนา หรือการแสดง  พระธรรมครั้งแรก หลังจากที่ตรัสรู้ได้ 2 เดือน เป็นวันที่เริ่มประดิษฐานพระพุทธศาสนาเนื่องจากมีองค์ประกอบของ  พระรัตนตรัยครบถ้วนคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี ในวันเพ็ญ (ขึ้น 15ค่ำ) เดือน 8 ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ 

          การแสดงพระปฐมเทศนา ได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์  ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี พระธรรมที่แสดงคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อเทศนาจบ พระโกณฑัญญะ   หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ผู้ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ  ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม มีความเห็นแจ้งชัดว่า





ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ      สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา    สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา




แล้วพระพุทธเจ้าจึงจัดตั้ง สังฆะ ขึ้น (สังฆะ คือ สมาคมของหมู่ชนที่ดำรงชีวิตอย่างกลมกลืนและตื่นรู้ เราต้องนำเมล็ดพันธุ์แห่งโพธิญาณหว่านโปรยไปทุกแห่งหน)


พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปกรุงกบิณพัสดุ์




           เมื่อพระองค์กล่าวทักทาย "เสด็จพ่อ ตถาคตกลับมาแล้ว เสด็จแม่ ตถาคตกลับมาแล้ว ดูซิโคปา ตถาคตกลับมาหาเธอแล้ว" สตรีทั้งสองก็ทรงกันแสง ด้วยความปีติยินดี แล้วจึงเรียกพระราหุลกุมาร ให้เข้ามานั่งใกล้ๆ พระองค์


          ในวันหนึ่งที่พระนางโคปาตรัสบอกกับพระราหุลกุมารว่าให้ไปขอสมบัติจากพระองค์ พระพุทธเจ้าจึงได้ทำการบวชเณรให้กับพระราหุลกุมาร โดยมีพระสารีบุตรเป็นผู้ปลงพระเกศา และให้พระกุมารสมาทานศีลห้า



พระสงฆ์มาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย





      วันมาฆบูชาเป็นวันที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทสำคัญอันถือได้ว่าเป็นหัวใจของคำสอนในพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาฏิโมกข์ ในวันเพ็ญ (ขึ้น 15ค่ำ) เดือนสาม ดวงจันทร์โคจรมาเสวยมาฆฤกษ์ แต่ถ้าปีใดมี อธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันเพ็ญกลางเดือนสี่ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นที่ พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ รัฐมคธ ในปีแรกของการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ คือ หลังจากตรัสรู้แล้วได้ 9 เดือน 
            ความประจวบกันพอดีของเหตุการณ์ในวันนี้ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่อัศจรรย์ มีสี่ประการคือ
           ประการแรก  เป็นการมาชุมนุมกันของพระสงฆ์สาวก จำนวน 1,250 รูป เพื่อเฝ้าพระบรมศาสดา โดยมิได้นัดหมาย
           ประการที่สอง  พระสงฆ์สาวกดังกล่าวล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
           ประการที่สาม  พระสงฆ์สาวกดังกล่าวล้วนแต่ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา
            ประการที่สี่   วันนั้นดวงจันทร์เพ็ญเสวยมาฆฤกษ์เต็มบริบูรณ์
            ความพร้อมกันขององค์สี่ประการจึงเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต
            โอวาทปาฏิโมกข์  ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นการประมวลคำสอนหลักของพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสงฆ์สาวกนำไปประพฤติปฏิบัติ และนำไปสั่งสองผู้อื่นในแนวทางเดียวกัน คือ





ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา 
ขันตี คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง




นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา 
ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง 




น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี 
ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย 




สมโณ โหติ ปรํ วิเหธยนฺโต  
ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย 




สพฺพปาปสฺส  อกรณํ
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง




กุสลสฺสุปสมฺปทา 
การทำความดีให้ถึงพร้อม 




สจิตฺต ปริโยทปนํ 
การทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์ 




เอตํ พุทฺธานสาสนํ 
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา 




อนูปวาโท อนูปฆาโต 
การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย 




ปาติโมกฺเข จ สํวโร 
การสำรวมในปาติโมกข์ 




มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ 
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค 




ปนฺตญฺจ สยนาสนํ 
การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด 




อธิ จิตฺเต จ อาโยโค
ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง 




เอตํ พุทฺธานสาสนนฺติ 
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
            มีข้อความในโอวาทปาฏิโมกข์ที่อาจจะจำเพาะเจาะจงสำหรับนักบวชหรือบรรพชิต และบางข้อก็นำไปประพฤติปฏิบัติได้ทั้งบรรพชิตและผู้ครองเรือน อย่างไรก็ตามข้อความในโอวาทปาฏิโมกข์ก็ได้แสดงถึง จุดหมายสูงสุด แห่งพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพานดังนั้นพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า จึงควรศึกษาพระโอวาทปาฏิโมกข์ให้เข้าใจแจ่มแจ้ง แล้วน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ ตามฐานะและกำลังความสามารถของตน จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง
          ในวันนี้พุทธศาสนิกชนก็จะไปประกอบศาสนกิจ เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เช่นเดียวกับที่ประพฤติปฏิบัติในวันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา คือ นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญ อันได้แก่  พระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฏิมาเป็นต้น และฟังพระธรรมเทศนาการแสดงธรรมในวันนี้ จะแสดงธรรมในเรื่องพระโอวาทปาฏิโมกข์



           พระองค์ทรงปวดพระอุระ อันเกิดจากการถวายอาหารของอุบาสกจุนทะ ซึ่งเป็นเห็ดที่เกิดจากไม้จันทน์ เรียกว่า สุกรมัททวะ พระองค์ได้เรียกพระอานนท์เข้ามา พร้อมบอกว่า อาหารที่ตถาคตฉันที่บ้านอุบาสกจุนทะเป็นอาหารมื้อสุดท้ายนั้น อาจมีคนกล่าวร้ายอุบาสกจุนทะที่ถวายอาหารไม่คู่ควรต่อตถาคต ตถาคตต้องการให้เธอบอกเขาว่ามีอาหารสองมื้อที่ให้คุณค่ามากที่สุดในชีวิตตถาคต คือ มื้อที่เสวยก่อนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และ มื้อสุดท้ายก่อนตถาคตเสด็จปรินิพพาน เขาควรรู้สึกเป็นสุขที่ได้เป็นผู้ถวายอาหารหนึ่งในสองมื้อนี้ต่อตถาคต




          เมื่อทรงกล่าวจบ สมเด็จพระบรมศาสดาทรงปิดพระเนตรลง และนั่นคือการกล่าวปัจฉิมวาจาของพระพุทธองค์ ในทันใดนั้น แผ่นดินก็สั้นสะเทือน ดอกสาระร่วงหล่นดุจสายฝน ทุกคนในสถานที่นั้นรู้ได้ทันทีว่าสมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จปรินินพานแล้ว


















ผิดพลาดประการใดขออภัย ผู้รู้ท่านใด จะถวายวิทยาทาน นิมนต์เลยครับ
ร.ปิยาจาโร
๓ มกราคม ๒๕๕๒
วัดบ้านพราน 
ต. ศรีพราน อ. แสวงหา จ. อ่างทอง
https://plus.google.com/u/0/115294898732538799987/about

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความโศกย่อมเกิดจากความรัก

มหาสังฆทาน