ประวัติวัดบ้านพราน ต. ศรีพราน อ. แสวงหา จ. อ่างทอง ( 2 )


วัตถุโบราณ

 ในขณะที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารหลังเดิม ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๔ ได้ขุดพบเศียรพระพุทธรูป ๖ เศียร ในสภาพชำรุด ได้นำมาซ่อมแซมและลงรักปิดทองใหม่ จนไม่ทราบได้ว่า สร้างด้วยวัสดุใด และจากพุทธศิลป์ที่ปรากฏ สันนิษฐานว่าเป็นอิทธิพลแบบสุโขทัย
     ได้พบชิ้นส่วนของพระพุทธรูปหินทรายเป็นจำนวนมากทั้งขนาดเล็กและก็ขนาดใหญ่หรือใหญ่กว่าคนจริง ถูกทิ้งกระจัดกระจายอยู่โดยรอบลานประทัก -ษิณ และโคนต้นไม้ใหญ่บนลานเดียวกันอาจกำหนดอายุให้อยู่ในราวพุทธศต วรรษ ที่ ๒๑ ได้  เป็นที่น่าเสียดายว่าชิ้นส่วนที่ขุดพบโดยมากนั้น ถูกชาวบ้านนำไปเก็บไว้เป็นส่วนตัวก็มาก อีกทั้งถูกนำไปขายก็มี ส่วนที่ทางวัดเก็บรักษานั้นมีเป็นส่วนน้อย และไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร ซึ่งปัญหาเหล่านี้ในสมัยก่อนก็ประสบพบกันโดยทั่วไป เนื่องจากผู้คนสมัยก่อนยังไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องของวัตถุโบราณที่ถูกค้นพบ เมื่อพบเจอก็จะเก็บไปเป็นสมบัติส่วนตัวหรือนำไปขายให้กับพวกนักสะสมหรือพวกรับซื้อของเก่า โดยที่ไม่เข้าใจว่าโบราณวัตถุที่ตัวเองค้นพบในที่ดินของตนเองนั้นเป็นสมบัติของชาติและมีคุณค่าทางประวัติ ศาสตร์
     ปัจจุบันเศียรพระเหล่านั้น ได้ถูกนำไปสร้างเป็นพระพุทธรูป โดยมีการสร้างตัวองค์พระขึ้นมาใหม่ แล้วใส่เศียรพระที่ค้นพบนั้นลงไป ประดิษฐานไว้ที่หน้าวิหารหลวงพ่อไกรทอง ส่วนชิ้นส่วนของพระพุทธรูปที่ไม่สามารถประกอบขึ้นมาใหม่ได้ ก็ถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในวัด เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป




     ได้พบใบเสมาหินชนวนเพียง ๑ ใบ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระอุโบสถสูง ๕๔ เซนติเมตร อกเสมากว้าง ๓๗ เซนติเมตร เอวสีมาคอด ๒๕ เซนติเมตร ที่รอบของเสมาทำเป็นลายลูกประคำร้อยเรียงเป็นสายต่อกัน มีรายประจำยามประดับตอนกลางของใบเสมาส่วนบนและที่ท้องใบเสมาทำลายดอกไม้ครึ่งดอกซึ่งกำหนดอายุให้อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ พร้อมกับการสร้างวิหารหลังเดิม ปัจจุบันทางวัดได้นำมาประดิษฐานไว้ด้านขวาหน้าประตูทางเข้าพระอุโบสถ
     ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ด้านหน้าของลานประทักษิณ อันเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถและพระวิหาร เป็นพระเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองยอดชำ รุดได้รับการซ่อมแซมใหม่ ลักษณะเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร ในปัจจุบัน เมื่อเดินทางเข้ามาวัดก็จะเห็นพระเจดีย์สีทององค์นี้เปล่งประกายแผ่รัศมีสวยงามมาก โดย เฉพาะเวลาเช้าตรู่ ที่แสงอาทิตย์เริ่มมากระทบต้ององค์พระเจดีย์ และมีพระวิหารและพระอุโบสถเป็นฉากอยู่ข้างหลังสวยจับจิตจับใจของผู้พบเห็น
   
 สระน้ำโบราณ
     ตั้งอยู่ด้านหน้าทางด้านทิศตะวันตกของพระอุโบสถเดิมของวัดช่องลม เป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมขนาดย่อม ต่อมาทางโรงเรียนวัดบ้านพรานได้ขยายออกทั้งด้านทิศเหนือและทิศใต้ เพื่อใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาจึงทำให้รูปทรงของสระน้ำเปลี่ยนไป  แต่ยังสามารถที่จะศึกษารูปทรงได้จากแนวเขื่อนก่ออิฐขอบสระ ซึ่งเหนือขึ้นด้านขวามือไปนั้น ก็จะมองเห็นต้นมะขามเก่าแก่อยู่ แต่ทว่าด้วยภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนไป เลยทำให้ จุดนี้กลายเป็นเหมือนจุดบอดที่ถูกปล่อยปละละเลย จนไม่สามารถที่ค้นหาหลักฐานทางโบราณคดีแต่อย่างใดได้อีก


เนินโบราณสถาน ( ภายในวัดช่องลม หรือโรงเรียนวัดบ้านพรานในปัจจุบัน )

          ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระอุโบสถ ถูกปกคลุมด้วยวัชพืชจนไม่อาจทราบรูปทรงของเนินดินนี้ได้ แต่ได้พบเศษอิฐกระจัดกระจายอยู่ทั่ว ไปบนเนินดิน ซึ่งหากต้องการที่จะทำการศึกษาค้นคว้าจริงๆแล้ว คาดว่าภายใต้พื้นดินลงไปน่าจะหลงเหลือหลักฐานต่างๆที่พอจะทำการศึกษาและพอที่จะเป็นหลักฐานได้  ทุกวันนี้ทางวัดและคณะกรรมการก็ทำได้เพียงทำหลังคาคุ้มแดดคุ้มฝนให้กับสิ่งปลูกสร้างที่ยังหลงเหลืออยู่เท่านั้น ซึ่งก็ไม่เพียงพอต่อการที่จะรักษาสมบัติของชาติ เพราะในการรักษาขาดความรู้ความเข้าใจที่เป็นหลักวิชา การหรือในการใช้หลักวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย ดังนั้นการผุกร่อนจึงเป็นไปอย่างรวดเร็ว คาดว่าอีกไม่นานสิ่งเหล่านี้ก็คงจะไม่หลงเหลือให้คนรุ่นหลังได้เห็นได้ศึกษา 
    
 เศษกระเบื้องมุงหลังคา
          ได้ขุดพบชิ้นส่วนของกระเบื้องกาบูดินเผาไม่เคลือบ สำหรับมุงหลังคาพระอุโบสถอยู่โดยรอบพระอุโบสถ โดยเฉพาะโคนไม้ใหญ่ มักพบมากเป็นพิเศษ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัสดุก่อสร้างในสมัยนั้น ที่อาจจะใช้ไม่ได้หรือบางทีก็อาจจะเป็นวัสดุที่เหลือจากการก่อสร้างนำมาเก็บไว้และเสียหายผุกร่อนไปตามกาลเวลา และในปัจจุบันเศษกระเบื้องเหล่านี้ก็ไม่หลงเหลือแล้ว ที่ยังคงมีเหลืออยู่นั้น ก็แทบจะมองไม่ออกว่าเป็นชิ้นส่วนกระเบื้อง เพราะจากการที่ทางวัดเองในตอนแรกเริ่มที่จะทำการสร้างพระอุโบสถนั้นได้ทำการปรับถมดินพื้น ที่ใหม่เนื่องจากพื้นที่เดิมน้ำท่วมถึง แล้วก็มีการอัดดินไปมากพอสมควร จึงทำให้ชิ้นส่วนเหล่านั้นพลอยจมลงไปในพื้นดินมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม อีกส่วนหนึ่งนั้นชาวบ้านก็นำไปเป็นสมบัติส่วนตัวเสียก็มาก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความโศกย่อมเกิดจากความรัก

ภาพุทธประวัติและบรรยาย

มหาสังฆทาน